สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔

สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฮิต: 50116

ปริยัติธรรม

คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย

สติปัฏฐานเป็นทางสายเอก และเป็นทางสายเดียวที่ทําให้ผู้ดําเนินตามทางนี้ ถึง ความบริสุทธิ์หมดจด จนบรรลุพระนิพพาน ดังนั้นผู้ที่ปรารถนาจะบรรลุมรรค ผล นิพพาน ต้องเริ่มต้นด้วยสติปัฏฐานนี้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่พระภิกษุ ทั้งหลายว่า

“เอกายโน อย์ ภิกขเว มคโค สตุตาน์ วิสุทธิยา โสกปริเทวาน สมติกกมาย ทุกขโทมนสุสาน์ อตุถงคมาย ญายสุส อธิคมาย นิพพานสุส สจฉิกิริยาย บทท์ จตุตาโร สติปฏฐานา”

“หนทางนี้เป็นหนทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงเสียด้วยดีซึ่งความโศกและความร่ําไร เพื่อดับไปแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน สิ่งนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔”

หลักสติปัฏฐาน ๔

ความหมายของสติปัฏฐาน

สติ คือ ความระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี ยับยั้งมิให้จิตตกไปในทางชั่ว หรือความระลึก ได้ที่รู้ทันอารมณ์อันเป็นฝ่ายดี ปัฏฐาน คือ ความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ ดังนั้น สติปัฏฐาน ก็คือ ความตั้งมั่นในการระลึกรู้อารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี มีความหมายโดยเฉพาะถึงอารมณ์อันเป็น ที่ตั้งมั่นแห่งสติ ๔ ประการ ประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม”

ประเภทของสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน มี ๔ ประเภท คือ

ก) พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกําจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

ข) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

ค) พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิต ภายนอกเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนื่องๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌา และโทมนัสเสียได้ในโลก

ง) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในเนืองๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอก เนื่องๆ อยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

จุดประสงค์ของสติปัฏฐาน

สติตั้งมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนี้ มีจุดประสงค์จําแนกได้เป็น ๒ ทาง คือ

สติตั้งมั่นในการพิจารณาบัญญัติ เพื่อให้จิตสงบ ซึ่งเรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน มีอานิสงส์ ให้บรรลุฌานสมาบัติ

สติตั้งมั่นในการพิจารณารูปนาม เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน มีอานิสงส์ให้บรรลุถึงมรรค ผล นิพพาน

การกําหนดพิจารณาไตรลักษณ์เพื่อให้รู้เห็นสภาพตามความเป็นจริงว่า สิ่งทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นรูปนามเท่านั้น และรูปนามทั้งหลายเหล่านั้น ก็มีลักษณะเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

หาได้เป็นแก่นสารยั่งยืนไม่ จะได้ก้าวล่วงเสียซึ่งความเห็นผิด ไม่ให้ติดอยู่ในความยินดียินร้าย อันเป็นการเริ่มต้นที่จะให้ถึงหนทางดับทุกข์ทั้งปวง

ประเภทบุคคลเหมาะกับสติปัฏฐาน ๔

บุคคลผู้เจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งแบ่งเป็น ๒ อย่างคือ มันทบุคคล ได้แก่ บุคคล ผู้มีปัญญาอ่อน และติกขบุคคล ได้แก่บุคคลผู้มีปัญญากล้า หากจะแบ่งให้ละเอียด ก็มีถึง ๔ จําพวกคือ

ก) ตัณหาจริตบุคคล ที่มีปัญญาอ่อน บุคคลประเภทนี้ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะเป็นของหยาบ เห็นได้ง่าย และเหมาะกับอัธยาศัยของบุคคลพวกนี้
ข) ตัณหาจริตบุคคล ที่มีปัญญากล้า บุคคลประเภทนี้ควรเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะเป็นกัมมัฏฐานละเอียด คนมีปัญญากล้าสามารถเห็นได้ง่าย และเหมาะกับอัธยาศัยของบุคคลพวกนี้
ค) ทิฏฐิจริตบุคคล ที่มีปัญญาอ่อน บุคคลประเภทนี้ควรเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะไม่หยาบไม่ละเอียดเกินไป และเหมาะกับอัธยาศัยของบุคคลพวกนี้
ง) ทิฏฐิจริตบุคคล ที่มีปัญญากล้า บุคคลประเภทนี้ควรเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะเป็นกัมมัฏฐานละเอียด คนมีปัญญากล้าสามารถเห็นได้ง่าย และเหมาะกับอัธยาศัยของบุคคลพวกนี้
จ) สมถยานิกบุคคล ที่มีปัญญาอ่อน บุคคลประเภทนี้ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะมีนิมิตที่จะพึง ถึงได้โดยไม่ยากนัก
ฉ) สมถยานิกบุคคล ที่มีปัญญากล้า บุคคลประเภทนี้ควรเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์หยาบ และเหมาะกับอัธยาศัยกับ บุคคลพวกนี้
ช) วิปัสสนายานิกบุคคล ที่มีปัญญาอ่อน บุคคลประเภทนี้ควรเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดี เพราะไม่หยาบไม่ละเอียดเกินไป และเหมาะกับอัธยาศัยของบุคคลพวกนี้
ซ) วิปัสสนายานิกบุคคล ที่มีปัญญากล้า บุคคลประเภทนี้ควรเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงจะได้ผลดีเพราะเป็นอารมณ์ละเอียดมาก และเหมาะกับอัธยาศัยของบุคคลพวกนี้

นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังได้ตรัสถึงสติปัฏฐาน ๔ ที่สามารถละวิปัลลาส คือ ความ เข้าใจผิด ๔ อย่างได้แก่

- สุภวิปัลลาส (เข้าใจผิด คิดว่า ร่างกายเป็นของงาม)
- สุขวิปัลลาส (เข้าใจผิด คิดว่า ร่างกายเป็นสุข)
- นิจจวิปัลลาส (เข้าใจผิด คิดว่า ร่างกายเป็นของเที่ยง)
- อัตตวิปัลลาส (เข้าใจผิด คิดว่า ร่างกายเป็นตัวตน)

วิธีปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๒๑ บรรพ

สติปัฏฐาน ๔ ที่ประกอบด้วยกาย เวทนา จิต และธรรม เป็นหมวดใหญ่ ซึ่งทั้ง ๔ มี ฐานของการฝึกปฏิบัติรวมทั้งหมด ๒๑ บรรพ ดังนี้

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเห็นกายในกาย และพิจารณาเนืองๆ ซึ่งกาย คือการกําหนดให้เห็นรูปธรรมนั้น มีทั้งหมด ๑๔ บรรพ ได้แก่

บรรพที่ ๑ อานาปานสติ ในบรรพนี้ พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า

“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจออกยาว” เมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจเข้ายาว” เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจออกสั้น” เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจเข้าสั้น” ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจออก” ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้กําหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า” ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า”

ดูกรภิกษุทั้งหลายนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า “เราชักยาว” เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า “เราชักสั้น” แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจออกยาว” เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจเข้ายาว” เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจออกสั้น” เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า “เราหายใจเข้าสั้น” ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้กําหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้กําหนดกองลมทั้งปวง หายใจเข้า” ย่อมสําเหนียกว่า “เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสําเหนียก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า” ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ถ้าหากเจริญอานาปานสติให้มาก ย่อมมีอานิสงส์มาก สําหรับผู้ที่เจริญ อานาปานสติที่ทําให้มากแล้ว ย่อมบําเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทําให้มากแล้วย่อมบําเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ผู้ที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทําให้มากแล้ว ย่อมบําเพ็ญวิชชาและ วิมุตติให้บริบูรณ์ได้”

บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ ได้แก่ เดิน ยืน นั่ง นอน ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า อิริยาบถใหญ่ โดยที่เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ ชัดว่าเรานอน และตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ

บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ (อิริยาบถย่อย) โดยทําความรู้สึกตัวในอิริยาบถย่อยต่างๆ คือ

(๑) ก้าวไปข้างหน้า และถอยไปข้างหลัง
(๒) แลไปข้างหน้า เหลียวไปข้างซ้าย เหลียวไปข้างขวา
(๓) คู่แขนเข้า เหยียดแขนออก
(๔) กิริยาที่นุ่งผ้า ห่มผ้า และใช้เครื่องใช้สอยอื่นๆ
(๕) การเคี้ยว การกิน การดื่ม
(๖) การถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ
(๗) อาการเดิน ยืน นั่ง นอน จะหลับ เวลาที่ตื่นขึ้น การพูด การนั่ง

บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา ได้แก่ อาการ ๓๒ โดยพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดต่างๆ ที่อยู่ในกายนี้ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ําตา มัน เหลว น้ําลาย น้ํามูก ไขข้อ มูตร

บรรพที่ ๕ ธาตุทั้ง ๔ ได้แก่ ดิน น้ํา ไฟ ลม โดยพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ ตามที่ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้

บรรพที่ อสุภะ ที่ตายได้เพียง ๑, ๒, ๓ วัน โดยพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ําเหลืองไหล น่าเกลียด เพื่อน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ และ พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้างชื่อว่าพิจารณา เห็นกายในกายอยู่

บรรพที่ ๗ อสุภะ ที่สัตว์กําลังกัดกินอยู่
บรรพที่ ๘ อสุภะ ที่เป็นกระดูก ยังมีเลือดเนื้อติดอยู่
บรรพที่ ๙ อสุภะ ที่ปราศจากเนื้อ มีแต่เส้นเอ็นยึดให้คงรูปอยู่
บรรพที่ ๑๐ อสุภะ ที่เหลือแต่โครงกระดูก ซึ่งยังคงเป็นรูปร่างอยู่
บรรพที่ ๑๑ อสุภะ ที่กระดูกเป็นท่อนๆ เช่น ท่อนแขน ท่อนขา กระจัดกระจายอยู่
บรรพที่ ๑๒ อสุภะ ที่เก่ามาก จนกระดูกเป็นสีขาวเหมือนสังข์
บรรพที่ ๑๓ อสุภะ ที่ตากลมตากฝนมาตั้ง ๓ ปีแล้ว เหลือแต่กระดูกเป็นชิ้นๆ กระจัดกระจาย
บรรพที่ ๑๔ อสุภะ ที่กระดูกผุนั้น ไม่เป็นรูปเป็นร่าง จนเป็นผงแล้ว

อานาปานสติ ใน บรรพที่ ๑ เจริญได้ทั้งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถ้ากําหนดพิจารณาลมหายใจเข้าลมหายใจออก โดยถือเอาบัญญัติคือลมเป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌานก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน แต่ถ้ากําหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหายใจที่ กระทบริมฝีปากบนหรือที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรมตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ ธาตุ ใช้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิดฌานจิตไม่ได้ ส่วนบรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา และบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน แต่อย่างเดียวเท่านั้น

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บรรพที่ ๑๕ คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติตั้งมั่นพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อยู่เนืองๆ เช่น เมื่อเราเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา เวทนาขันธ์ทั้งหมด ๙ อย่าง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิส อุเบกขาที่เจือด้วยอามิส สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส อุเบกขาเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส สุขเวทนาที่เกิดขึ้นด้วยสมถกัมมัฏฐาน หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐานก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และอุเบกขาเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของสมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสเวทนานุปัสสนา สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ใช้ในการเจริญวิปัสสนา กัมมัฏฐานแต่อย่างเดียว จะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐาน เพื่อให้เกิดฌานจิตนั้นไม่ได้ การตามพิจารณาเวทนาก็เพื่อให้รู้เห็นประจักษ์ชัดว่า ทุกข์สุขที่กําลังเกิดอยู่นั้น เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานที่ให้เห็นได้ด้วยนัยน์ตา เป็นธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป แต่เรียกว่า นาม คือนามเจตสิก เวทนานี้ไม่ใช่เรา และเราก็ไม่ใช่เวทนา ต่อเมื่อมีเหตุมีปัจจัย เวทนาก็เกิดขึ้นปรากฏขึ้น จะห้ามไม่ให้เกิดก็ห้ามไม่ได้ ครั้นหมดเหตุหมดปัจจัย แล้วเวทนาก็ดับไปเอง ไม่ดํารงคงอยู่ตลอดไป ความรู้ในเวทนาดังกล่าวนี้แหละที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งมีความสามารถประหานสักกายทิฏฐิได้ ความจริงเวทนานี้ก็เกิดอยู่เสมอทุกขณะ ไม่มีว่างเว้นเลย ชนทั้งหลายก็รู้สึกทุกข์หรือสุขอยู่ แต่ไปยึดถือว่าเราทุกข์เราสุข จึงไม่อาจที่จะละสักกายทิฏฐิได้เลย ดังนี้ไม่เรียกว่าเวทนานั้นเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน หรือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บรรพที่ ๑๖ คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน จิต โดยมีสติตั้งมั่นพิจารณาเห็นจิตใน จิต และ พิจารณาเนืองๆ ซึ่งจิต คือ วิญญาณขันธ์ ทั้งหมด ๑๖ ประเภท ได้แก่

๑) สราค คือ จิตที่มีราคะ
๒) วีตราค คือ จิตที่ไม่มีราคะ
๓) สโทส คือ จิตที่มีโทสะ
๔) วิตโทส คือ จิตที่ไม่มีโทสะ
๕) สโมห คือ จิตที่มีโมหะ
๖) วีตโมห คือ จิตที่ไม่มีโมหะ
๗) สงขิตต คือ จิตที่มีถิ่นมิทธะ
๘) วิกฺขิตฺต คือ จิตที่ฟุ้งซ่าน
๙) มหคฺคต คือ จิตที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร
๑๐) อมหคฺคต คือ จิตที่ไม่ใช่รูปาวจร อรูปาวจร (หมายถึง กามาวจร)
๑๑) สอุตฺตร คือ จิตที่เป็นกามาวจร
๑๒) อนุตฺตร คือ จิตที่ไม่ใช่โลกุตตร (หมายถึง รูปาวจร และอรูปาวจร)
๑๓) สมาหิต คือ จิตที่เป็นสมาธิ
๑๔) อสมาหิต คือ จิตที่ไม่เป็นสมาธิ
๑๕) วิมุตฺติ คือ จิตที่ประหานกิเลส พ้นกิเลส
๑๖) อวิมุตฺติ คือ จิตที่ไม่ได้ประหานกิเลส ไม่พ้นกิเลส

จิตทั้ง ๑๖ นี้ใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐาน ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน การกําหนดพิจารณาจิตเหล่านี้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่าจิตที่กําลังเกิดอยู่นั้น เป็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน หรือเป็นจิตชนิดใด เมื่อรู้ประจักษ์ชัดเช่นนี้ก็ทําให้ เกิดความรู้ต่อไปว่า ที่โลภ โกรธ ที่หลงนั้นเป็นอาการของจิต หาใช่ว่าเราโลภ เราโกรธ เราหลงไม่ เพราะจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา และเราก็ไม่ใช่จิต จะห้ามไม่ให้จิตอย่างนั้นเกิด ให้เกิดแต่จิตอย่างนี้เถอะ ก็ไม่ได้เลย จิตย่อมเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เหตุปัจจัยที่มา ปรุงแต่งจิตมีสภาพอย่างใด จิตก็มีอาการเป็นไปอย่างนั้น เมื่อหมดเหตุหมดปัจจัย จิตก็ดับไป จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่างตัวตน เห็นด้วยนัยน์ตาก็ไม่ได้ เป็นธรรมชาติที่ไม่ ใช่รูป แต่เป็นธรรมชาติที่เรียกว่า นาม คือ นามจิต ความรู้ในจิตดังกล่าวนี้จึงจะเรียกได้ว่า เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งมีความสามารถที่ จะละสักกายทิฏฐิ คือความยึดถือว่าเป็นจิตเรา จิตเขา นั้นเสียได้

๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

บรรพที่ ๑๗ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใน นิวรณ์ ๕ ได้แก่ จิตที่มีกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

บรรพที่ ๑๘ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

บรรพที่ ๑๙ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในอายตนะ ๑๒ โดยพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรม คืออายตนะภายในและภายนอก ๖

บรรพที่ ๒๐ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในโพชฌงค์ ๗ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา โดยพิจารณาธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗

บรรพที่ ๒๑ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา โดยพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใช้ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเดียว เป็นการพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูปทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน และ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้ง ๓ นี้ ย่อมรวมลงได้ ในธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ ทั้งสิ้น

พิมพ์